ขอเชิญชวนคณะครูและนักเรียนที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม วันอาเซียน ASEAN DAY

วันอาเซียน หรือ  ASEAN Day คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?  
          อาเซียน มีชื่อเต็มๆ ว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ฯพณฯ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้เสนอแนวคิดที่จะให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทางการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ และกำหนดอนาคตของตนเองได้อย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด ซึ่งเป็นทั้งนักการทูตและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศที่ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในบิดาผู้ให้กำเนิดอาเซียน ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วมกันลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ที่พระราชวังสราญรมย์ เพื่อก่อตั้งอาเซียนขึ้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 และต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม  ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับจึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก  10  ประเทศ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วันที่ 8 สิงหาคม ของทุกๆ ปี จึงถูกจัดให้เป็นวันก่อตั้งอาเซียน กรมอาเซียน ในฐานะสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ จึงจัดงาน ASEAN Day เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของการก่อตั้งอาเซียน และเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่พี่น้องประชาชนชาวไทย และวันที่ 8 สิงหาคม 2564 นี้ ถือเป็นวันครบรอบการก่อตั้งครบ 54 ปีของอาเซียนนั้นเอง    โดยข้อมูลทั่วไปของอาเซียน มีดังนี้


 “อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป    อย่างมาก ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด  การค้า มนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2 (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่ 
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาทร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา